ประวัติ สุนทรภู่ ผู้สร้างบทกวีชื่อดังของแผ่นดินไทย
เมื่อเราพูดถึงบทกวีที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย จะมีผู้ใดที่เรานึกถึงได้อีกนอกเสียจาก “พระสุนทรโวหาร” หรือที่มีนามเรียกสั้นๆ ว่า “ภู่” ท่านได้เข้ามาอยู่ในวังหลังตั้งแต่ยังเด็กนัก เนื่องจากมารดาเป็นถึงนางนมในพระราชวังหลัง ทำให้มีโอกาสถวายตัวตั้งแต่ยังเยาว์วัย ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาความรู้มากมาย โดยเฉพาะในด้านขนมธรรมเนียมของราชสำนัก หลังจากที่ได้เติบโตจนพอที่จะเข้าเรียนได้ก็ได้เข้ามาศึกษาในชีปะขาว แต่เดิมทีแล้วท่านก็เป็นคนที่ชอบบทกลอนมาแต่ไหนแต่ไร ทำให้ชื่นชอบที่จะแต่งกลอนเป็นอย่างมาก โอกาสมาถึงเมื่อท่านได้เข้าไปรับราชการเป็นอาลักษณ์ให้กับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยท่านได้ฉายแววถึงความสามารถจนได้รับการพระราชทานเป็น “ขุนสุนทรโวหาร” ของกรมพระอาลักษณ์ ภายหลังได้รับหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือให้กับพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ เมื่อเข้ารัชสมัยใหม่สุนทรภู่จึงได้ออกบวชเมื่ออายุ 41 ปี โดยวัดแรกที่คือ “วัดราชบูรณะ” ที่อยู่ได้เพียง 3 พรรษาก็ถูกขับไล่เนื่องจากมีปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งขึ้นภายในวัน ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสุนทรภู่ได้ย้ายไป 3 วัด ได้แก่ วัดอรุณราชวราราม, วัดเทพธิดาราม และทุดท้ายที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเมื่ออยู่ได้ครบ 7 พรรษาก็ได้ลาสิกขาออกมาเพื่อรับราชการกับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ไม่นานท่านก็ต้องพบเจอกับความยากลำบากอีกครั้ง เมื่อพระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้สิ้นพระชนม์ ทำให้สุนทรภู่ต้องภายเรือเร่รอนอยู่ตามริมแม่น้ำ เหลือเพียงทักษะความรู้จึงได้แต่งหนังสือขาย หนึ่งในนั้นก็คือ “พระอภัยมณี” นอกจากนี้ยังมีผลงานมากมายที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้อีกหลายชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็น “นิราสพระแท่นดงรัก” หรือ “สุภาษิตสอนหญิง” โชคดีที่ได้รับกลับเข้าไปอยู่ในวังตามพระกรุณาของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ภายหลังได้กลับเข้ามารับราชการดั่งเดิม เมื่อ พ.ศ. 2392 สุนทรภู่ได้ถึงแก่กรรมด้วยอายุ 69 […]